ประยุทธ์ ห่วงหนี้ประชาชน เล็งจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อรายย่อย พร้อมชงมาตรการลดอัตราดอกเบี้ย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงความห่วงใยประชาชนเกี่ยวกับปัญหาหนี้สิน โดยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล วันนี้ (15 มิ.ย.64) ได้มีมติเห็นชอบการลดอัตราเงินสมทบ สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่ง เหลือร้อยละ 60 เป็นระยะเวลา 6 เดือน
นายกรัฐมนตรีแถลงถึงภาพรวมภาระหนี้กลุ่มต่าง ๆ ประกอบไปด้วย
หนี้ กยศ. 3.6 ล้านคน ผู้ค้ำประกัน 2.8 ล้านคน หนี้ครู/ข้าราชการ 2.8 ล้านบัญชี หนี้เช่าซื้อรถยนต์ และมอเตอร์ไซค์ 27.7 ล้านบัญชี หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 49.9 ล้านบัญชี และปัญหาหนี้สินอื่นๆ ของประชาชน 51.2 ล้านบัญชี ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือทั้งระยะสั้นและระยะต่อไป
โดยมาตรการระยะสั้น สามารถดำเนินการภายใน 6 เดือน อาทิ การลดภาระดอกเบี้ยของประชาชน ทั้งในส่วนสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อ PICO และ NANO สำหรับประชาชน ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ของครูและข้าราชการ รวมถึงสหกรณ์ ปรับรูปแบบการชำระหนี้ คุ้มครองความเป็นธรรมให้ประชาชน ที่เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์และให้ ธปท.ทบทวนเพดานอัตราดอกเบี้ย และการกำกับดูแลบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อจำนำทะเบียน
การไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สินเพื่อลดการดำเนินคดีกับประชาชน เช่น หนี้ กยศ. หนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ หนี้สหกรณ์ การเพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs เช่น จัดให้มี soft loan สำหรับ SME ที่เป็น NPL เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ การเพิ่มจำนวนโรงรับจำนำ และโรงรับจำนอง เพื่อให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยเข้าถึงสินเชื่อดังกล่าว
ในส่วนมาตรการมาตรการระยะต่อไป คือ เร่งส่งเสริมการแข่งขันให้อัตราดอกเบี้ยถูกลง การให้ความช่วยเหลือเด็กรุ่นใหม่หรือคนเกษียณที่มีภาระหนี้สิน
โดยจะออกมาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องที่อยู่อาศัยและค่าเดินทางระบบขนส่งมวลชนในราคาถูก การจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่ เพื่อกำกับดูแลสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อรายย่อยเป็นการเฉพาะ
การจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางธุรกิจและการเงิน เพื่อชะลอการฟ้อง อำนวยความสะดวกให้การฟื้นฟูหนี้รายบุคคลที่มีเจ้าหนี้หลายราย เป็นต้น
นอกจากนี้ มติคณะรัฐมนตรียังเห็นชอบการลดอัตราเงินสมทบ สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่ง พรบ.ประกันสังคม ซึ่งคือกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ โดยลดเงินสมทบลงเหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิม เป็นระยะเวลา 6 เดือน บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวมถึงช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น
กลาโหม แจงกรณีภาพ ประวิตรไม่สวมแมสก์ ชี้ถอดเพื่อถ่ายรูป
กลาโหม ได้ออกมาชี้แจงหลังจากที่มีภาพของ พล.อ. ประวิตรไม่สวมแมสก์ ขณะประชุม ADMM โฆษกชี้ถอดเพื่อถ่ายรูปเท่านั้น พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกลาโหม ได้ออกมาชี้แจงกรณีที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ถูกจับภาพไม่สวมหน้ากากอนามัย ในระหว่างการประชุม รมว.กลาโหมอาเซียน (ADMM ) ครั้งที่ 15 เมื่อ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา
โดยทางกลาโหมระบุว่า การประชุมดังกล่าว เป็นการประชุมระหว่างประเทศ ผ่านระบบ VTC โดยกลาโหมบรูไนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งประเทศเจ้าภาพได้ขอให้ รมว.กลาโหมทุกประเทศ ถอดหน้ากากอนามัยเป็นการชั่วคราว เพื่อการบันทึกภาพร่วมกัน 2 ครั้ง คือ ก่อนการประชุม และระหว่างการรับรองร่างเอกสารปฏิญญาฯ ร่วมกัน ทั้งนี้ ระหว่างการประชุม พล.อ.ประวิตร’ และคณะ ได้ยึดปฏิบัติตามประกาศกรุงเทพมหานครอย่างเคร่งครัด โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา มิได้มีเจตนาที่จะละเว้นการปฏิบัติแต่อย่างใด
ประชุมครม. มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนา เด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564-2570 วางกรอบแนวทาง 7 ยุทธศสาตร์ พัฒนารอบด้าน ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (15 มิ.ย. 64) ที่ทำเนียบรัฐบาล ระบุ ประชุมครม. มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564-2570 เป็นการมุ่งพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นช่วงวัยสำคัญที่สุดของกระบวนการพัฒนาเด็ก เพื่อให้เด็กเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข
โดยได้ดำเนินการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำร่างแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยนี้ไปเป็นกรอบแนวทางในการร่วมพัฒนาคุณภาพ การดูแล การบริการ และการจัดการศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างรอบคอบเต็มตามศักยภาพ
(ร่าง) แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564-2570 ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์
1. การจัดการและการให้บริการแก่ เด็ดปฐมวัย
2. การพัฒนาและสร้างความเข็มแข็งให้กับ สถาบันครอบครัวและอบรม เลี้ยงดูเด็ดปฐมวัย
3. การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน ให้บริการพัฒนาแก้เด็กปฐมวัย
แนะนำ : รีวิวหนังไทย | คู่มือพ่อแม่มือใหม่ | แม่และเด็ก | เรื่องผี | แคคตัส กระบองเพชร